วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิลัยทัศน์



วิสัยทัศน์ (Vision)
    เป็นศูนย์กลางการพัฒนาองค์ความรู้และผลิตบุคลากร สู่ความเป็นเลิศทางด้านอาชีวศึกษาเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล

พันธกิจ (Mission)
    1. ส่งเสริมสนับสนุนในการบริหารจัดการอาชีวศึกษาทั้งในระบบนอกระบบ และทวิภาคีโดยความร่วมมือกับเครือข่าย ชุมชน สถานประกอบการได้อย่างทั่วถึง เสมอภาค และมีประสิทธิภาพ
    2. ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน สถานประกอบการหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
    3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา โครงการ สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อนำไปใช้ในการบูรณาการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

ปรัชญา  (Philosopho)
    ศึกษาดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)
    1. วิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ของบุคลากร นักศึกษา และชุมชนอย่างแท้จริงและทั่วถึง
    2. ผู้บริหารทุกระดับมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ มีความมุ่งมั่น ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาโดยมีเป้าหมายผู้เรียนเป็นสำคัญ
    3. บุคลากรทุกระดับเข้าใจนโยบายและพัฒนาตนเองสู่การเป็นบุคลากรมืออาชีพ
    4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการพัฒนาวิทยาลัย พัฒนาตนเอง ไปสู่เป้าหมาย เก่ง ดี มีสุข

เป้าหมาย  (Goal)
    1. พัฒนาเทคโนโลยีศูนย์วิทยบริการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการวิชาชีพของครู นักเรียนนักศึกษาและชุมชน ตลอดจนให้บริการอย่างทั่วถึง
    2. พัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ
    3. พัฒนาผู้เรียนตามหลักคุณธรรมนำความรู้มุ่งไปสู่ เก่ง ดี มีสุข
    4. พัฒนาปรับปรุงห้องเรียน ห้องปฏิบัติการให้เป็นห้องเรียนทันสมัย
    5. จัดครุภัณฑ์ อุปกรณ์ วัสดุ สื่อการเรียนการสอนทุกสาขาวิชาชีพให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น

ยุทธศาสตร์การจัดทำแผนปฏิบัติการ
    1. นำข้อเสนอแนะจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) มาดำเนินตามแนวทาง
    2. นำนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นโยบายกระทรวงศึกษาธิการนโยบายสถานศึกษา มาพัฒนาสถาศึกษาให้ครบทุกด้าน
    3. นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา และที่ปรึกษาสถานศึกษามาร่วมคิดร่วมทำ
    4. นำนโยบายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดทำแผน/โครงการ/กิจกรรม

ประวัติความป็นมาของวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น

1. พ.ศ. 2480 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้ง "โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้" รับผู้สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนหลักสูตร 2 ปี เริ่มเปิดทำการสอนตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2480 โดยใช้สถานที่ ที่ทำการประมง จังหวัดขอนแก่นในปัจจุบัน เป็นสถานที่ทำการสอน มีนักเรียน 52 คน ครู 3 

2. พ.ศ. 2481 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปลี่ยนหลักสูตร เป็น 3 ปี และได้ย้ายมาตั้งที่ เส้นทาง ขอนแก่น - ยางตลาด เนื้อที่ 19 ไร่ 

3. พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนอาชีพช่างไม้" ใช้หลักสูตร 3 ปี รับผู้สำเร็จชั้นประถมปีที่ 4 เข้าเรียน 

4. พ.ศ. 2486 ได้เปิดทำการสอนวิชาระดับชั้น ม.1 พิเศษให้แก่นักเรียน เมื่อเรียนจบแล้วสามารถ เป็นครูประชาบาลได้ 

5. พ.ศ. 2492 เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนช่างไม้ขอนแก่น" และเรียกชั้นเรียน เป็น อาชีวศึกษาชั้นต้น จบแล้วเรียนต่ออาชีวศึกษาชั้นกลางอีก 3 ปี 

6. พ.ศ. 2495 เริ่มรับเฉพาะผู้จบ ม.3 เข้าเรียนอาชีวศึกษาตอนปลาย 

7. พ.ศ. 2499 เลิกรับนักเรียนชั้น ป.4 เข้าเรียน โดยรับเฉพาะผู้จบ ม.3 เท่านั้น เข้าเรียนอาชีวศึกษา ตอนปลาย จบแล้วเรียนต่อในชั้นอาชีวศึกษาชั้นสูงอีก 3 ปี และรับผู้จบ ม.6 เข้าเรียน ในระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงด้วย 

8. พ.ศ. 2503 กรมอาชีวศึกษาเปลี่ยนฐานะโรงเรียนช่างไม้ขอนแก่นเป็น "โรงเรียนการช่างขอนแก่น" และยังมีชั้นอาชีวศึกษาตอนปลายกับอาชีวศึกษาชั้นสูง 

9. พ.ศ. 2504 ขยายหลักสูตรให้มีระดับสูงขึ้น โดยรับนักเรียนที่สำเร็จชั้น ประโยค อาชีวศึกษาตอนปลาย หรือสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียนต่อ 3 ปี สำเร็จแล้วได้วุฒิประกาศนียบัตรประโยค อาชีวศึกษาชั้นสูง 

10. พ.ศ. 2506 กรมอาชีวศึกษาได้ปรับปรุงโรงเรียนการช่างขอนแก่น ให้เข้าอยู่ใน โครงการ SEATO SKILL LABOR PROJECT โดยได้รับเงินจากโครงการ มา ปรับปรุงโรงงานใหม่ เพื่อ เตรียมติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ และเริ่มเปิดสอนแผนกวิชาช่างก่อสร้าง 

11. พ.ศ. 2507 เปิดสอนแผนกช่างยนต์ , ช่างกลโรงงาน , ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ช่างไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 

12. พ.ศ. 2513 เปิดสอนแผนกวิชาช่างวิทยุ - โทรคมนาคม เพิ่มขึ้นอีก 1 แผนก 

13. พ.ศ. 2519 กรมอาชีวศึกษาประกาศยกฐานะโรงเรียนการช่างขอนแก่น และโรงเรียนการช่างสตรี ขอนแก่น รวมกันเป็นวิทยาลัย มีชื่อว่า "วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น" โดยให้ โรงเรียนการช่างขอนแก่น เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาเขต 1 และโรงเรียนการช่าง สตรี เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาเขต 2 

14. พ.ศ. 2520 เริ่มเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์

15. พ.ศ. 2522 กรมอาชีวศึกษา ประกาศเปลี่ยนฐานะจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาเขต 1 เป็น "วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น" 

16. พ.ศ. 2524 เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ( ปวท. ) โดยเปิดสอนแผนกวิชาเทคนิค วิศวกรรมสำรวจ เพิ่มขึ้น 1 สาขา โดยรับนักเรียนที่จบจาก มศ.5 เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี 

17. พ.ศ. 2527 เปิด ปวส. ช่างไฟฟ้า , ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ปวท.โยธา , ปวท. เครื่องเย็นฯ ปวท. เขียนแบบเครื่องกล 

18. พ.ศ. 2531 เปิดสอนระดับ ปวช. เพิ่ม คือช่างเขียนแบบเครื่องกล 

19. พ.ศ. 2532 เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่ม คือช่างยนต์ , ช่างเทคนิคการผลิต 

20. พ.ศ. 2534 เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่ม คือช่างเขียนแบบเครื่องกล 

21. พ.ศ. 2535 เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่ม 1 ห้อง คือสาขาเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ 

22. พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่มอีก คือ สาขาวิชาช่างเทคนิคโลหะและ วิชาช่างก่อสร้าง เริ่มดำเนินการเพื่อเตรียมการเปิดสาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยความช่วยเหลือจาก รัฐบาลแคนาดา

23. พ.ศ. 2538 เริ่มดำเนินการเปิดสอนในระดับ ปวช. ระบบทวิภาคี คือ ช่างยนต์ , ช่างเชื่อม , ช่างกลโรงงาน , ช่างก่อสร้าง 

24. พ.ศ. 2539 เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร และระดับ ปวช. ระบบทวิภาคี เพิ่มอีกคือ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ , ช่างไฟฟ้า